วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2561

บทที่ 4 ระบบปฏิบัติการ

ระบบปฏิบัติการ
เป็นซอฟต์แวร์ที่เอาไว้ใช้สำหรับควบคุมและประสานงานระหว่างอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ตั้งแต่ซีพียู หน่วยความจำ ไปจนถึงส่วนนำเข้าและส่งออกผลลัพธ์ ( input/output device ) บางครั้งก็นิยมเรียกรวม ๆ ว่า แพลตฟอร์ม (platform ) คอมพิวเตอร์จะทำงานได้จำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการติดตั้งอยู่ในเครื่องเสียก่อน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิตเครื่องนั้น ๆ ว่าจะเลือกใช้แพลตฟอร์ม หรือระบบปฏิบัติการอะไรในการทำงาน เราจะพบเห็นระบบปฏิบัติการอยู่ในคอมพิวเตอร์แทบจะทุกประเภทตั้งแต่เครื่องขนาดใหญ่อย่างเครื่องเมนเฟรมจนถึงระดับเล็กสุด เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์พกพาประเภทพีดีเอ


   
        ระบบปฏิบัติการที่ใช้กันโดยทั่วไปในปัจจุบัน อาจนำเอาไปใช้ได้กับคอมพิวเตอร์หลากหลายชนิด ตั้งแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ระดับใหญ่จนถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก ซึ่งอาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว ( stand – alone OS )         
ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย ( network OS )       
ระบบปฏิบัติการแบบฝัง ( embedded OS ) 
หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
          ระบบปฏิบัติการจะอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ในลักษณะที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบกลไกการทำงาน  หรือฮาร์ดแวร์ของระบบ  แบ่งออกได้ดังนี้
 1. ติดต่อกับผู้ใช้ (User  Interface)
             คือ  ผู้ที่ใช้สามารถที่จะติดต่อหรือควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทางด้านระบบปฏิบัติการ  โดยที่ระบบปฏิบัติการนั้นจะส่งข้อความตอบโต้ไปยังผู้ใช้เพื่อที่จะให้ผู้ใช้ป้อนคำสั่งหรือสั่งการด้วยอุปกรณ์รับข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่  ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างโปรมแกรมประยุกต์ต่างๆ   เพื่อติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ขณะที่เราใช้งานด้วย



รูปแสดงความสัมพันธ์ระหว่างระบบปฏิบัติการ ฮาร์ดแวร์ โปรแกรมประยุกต์และผู้ใช้
     2. ควบคุมดูแลอุปกรณ์และการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
             เนื่องจากผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทางระบบปฏิบัติการ อาจไม่จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงหลักการทำงานภายในเครื่องคอมพิวเตอร์  ดังนั้นระบบปฏิบัติการจึงต้องมีหน้าที่ควบคุมดูแลการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ  เพื่อให้การทำงานของระบบเป็นไปได้อย่างถูกต้อง  และสอดคล้อง 
          3. จัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ  ในระบบ
              ทรัพยากร  (Resource)  คือ  สิ่งที่ถูกใช้ไปเพื่อให้โปรแกรมดำเนินต่อไปได้  เช่น  หน่วยประมวลผล  (CPU)  หน่วยความจำ  (Memory)  อุปกรณ์รับและแสดงผลข้อมูล  (Input/Output)  
              ดังนั้น  ระบบปฏิบัติการจะต้องจัดสรรทรัพยากรเหล่านี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด  ถ้าระบบปฏิบัติการสามารถจักสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพแล้ว  การทำงานของโปรแกรมต่าง ๆ  ก็สามารถทำให้ได้รวดเร็ว  และได้ปริมาณงานเพิ่มขึ้นด้วยองค์ประกอบของระบบ
ศาสตร์ด้านระบบปฏิบัติการนี้ได้รับอิทธิพลจากความสลับซับซ้อนของระบบมัลติโปรแกรมมิ่ง ซึ่งถ้าพิจารณาถึงองค์ประกอบของระบบปฏิบัติการที่ควรแก่การศึกษา ก็จะเป็นบรรดาองค์ประกอบที่ช่วยในการจัดโปรแกรมหลายๆ โปรแกรมให้ทำงานพร้อมๆ กันได้ ซึ่งอาจแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ ด้วยกันคือการซิงโครไนซ์กระบวนการ (process synchronization) และการบริหารทรัพยากร (resource management)
ประเภทระบบปฎิบัติการ
 ระบบปฏิบัติการที่ใช้กันโดยทั่วไปในปัจจุบัน อาจนำเอาไปใช้ได้กับคอมพิวเตอร์หลากหลายชนิด ตั้งแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ระดับใหญ่จนถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก ซึ่งอาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
       ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว ( stand – alone OS )   
       ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย ( network OS )   
       ระบบปฏิบัติการแบบฝัง ( embedded OS )
       ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว ( stand – alone OS )   
        เป็นระบบปฏิบัติการที่มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้เพียงคนเดียว (เจ้าของเครื่องนั้น ๆ) นิยมใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลและทำงานแบบทั่วไป เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ตามบ้านหรือสำนักงาน ซึ่งจะถูกติดตั้งระบบปฏิบัติการนี้รองรับการทำงานบางอย่าง เช่น พิมพ์รายงาน ดูหนัง ฟังเพลง หรือเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ปัจจุบันพัฒนาให้มีคุณสมบัติที่เป็นลูกข่ายเพื่อขอรับบริการจากเครื่องแม่ข่ายได้ด้วย
        DOS (Disk Operating System)   
        Windows   
         Unix   
        Mac OS X   
        Linux 
ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย ( Network OS )   
        ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย ( network OS ) เป็นระบบปฏิบัติการที่มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้หลาย ๆ คน ( multi - user ) นิยมใช้สำหรับงานให้บริการและประมวลผลข้อมูลสำหรับเครือข่ายโดยเฉพาะ มักพบเห็นได้กับการนำไปใช้ในองค์กรธุรกิจทั่วไป เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการเหล่านี้เรียกว่า เครื่อง server ซึ่งเป็นเสมือนเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับผู้ใช้นั่นเอง  

       
  

Windows Server   
 OS/2 Warp Server   
  Solaris

ระบบปฏิบัติการแบบฝัง ( embedded OS )   
      ระบบปฏิบัติการแบบฝัง ( embedded OS ) เป็นระบบปฏิบัติการที่พบเห็นได้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก เช่น พีดีเอหรือ Smart phone บางรุ่น สามารถช่วยในการทำงานของอุปกรณ์แบบไม่ประจำที่เหล่านี้ได้เป็นอย่างดี เกิดขึ้นมาหลังสุดพร้อม ๆ กับที่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาเหล่านี้ได้รับความนิยมมากขึ้น บางระบบมีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยวด้วย เช่น รองรับกับการทำงานทั่วไป ดูหนัง ฟังเพลงหรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้
ระบบปฏิบัติการแบบฝัง ( Embedded OS ) เรามักจะพบเห็นการใช้งานของระบบปฏิบัติการแบบฝังนี้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาดพกพา เช่น Palm, pocket PC, Smart phone รวมถึงอุปกรณ์ขนาดเล็กอื่น ๆ ซึ่งพอจะยกตัวอย่างได้ดังนี้
   Pocket PC OS (Windows CE เดิม)   
   Palm OS   
   Symbian OS
การซิงโครไนซ์กระบวนการ (process synchronization) ในระบบมัลติโปรแกรมมิ่ง โปรแกรมที่ทำงานพร้อมๆกันอาจต้องการใช้อุปกรณ์หรือทรัพยากร เช่น ใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน แม้ว่าเครื่องพิมพ์จะสามารถใช้ร่วมกันได้ แต่ต้องมีข้อจำกัดเช่นว่าต้องผลัดกันใช้ คือต้องรอให้ผู้ที่ใช้อยู่เสร็จงานเสียก่อน ผู้อื่นจึงสามารถมาใช้ต่อได้ มิใช่ว่าสลับกันใช้ ลักษณะการควบคุมการแบ่งหรือผลัดกันใช้ทรัพยากรนี้ ต้องระมัดระวังไม่ให้งานต่างๆ ที่จะไปก้าวก่ายหรือสร้างความเสียหายให้กับงานอื่น ซึ่งโดยที่งาน แต่ละงานจะไม่รับรู้ถึงความเป็นไปของงานอื่นใดทั้งสิ้น (โดยนึกว่ามีงานนั้นเพียงงานเดียวในระบบ) ในลักษณะนี้การจัดจังหวะหรือสับหลีกการทำงานให้สอดคล้องกันนี้เรียกว่า การซิงโครไนซ์กระบวนการ จึงตกเป็นหน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
การบริหารทรัพยากร (resource management) การบริหารทรัพยากรนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความยุติธรรมต่อผู้ใช้และ ให้ประสิทธิภาพการทำงานของระบบสูงด้วย ทรัพยากรที่จำเป็นต้องควบคุมได้แก่ หน่วยประมวลผลกลาง, หน่วยความจำหลัก,อุปกรณ์รอบข้าง และข้อมูล
การจัดการหน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit Management) เนื่องจากอุปกรณ์รับส่งข้อมูลและแสดงผลสามารถทำงานไปพร้อมกันกับหน่วยประมวล ผลกลางได้ ดังนั้นการจะใช้ประโยชน์ระบบให้ได้เต็มที่จึงต้องให้มีโปรแกรมสองประเภททำงานคู่ขนานกันไป โดยโปรแกรมหนึ่งจะทำการรับและแสดงผล ส่วนโปรแกรมอีกประเภทหนึ่งจะใช้หน่วยประมวลผลกลาง แต่อย่างไรก็ดี การสั่งให้อุปกรณ์นำข้อมูลเข้า/ออกเริ่มการทำงาน (เช่นบอกว่า ข้อมูลที่จะพิมพ์ อยู่ในส่วนใดของหน่วยความจำหลัก) ต้องอาศัยหน่วยประมวลผลกลางเป็นผู้ทำอีกอยู่ดี ดังนั้นถ้าหากนำเอางานที่ใช้แต่เฉพาะหน่วยประมวลผลกลางเข้าทำงานเหล่านั้นจะจับจองหน่วยประมวลผลกลางไปเรื่อยๆ ทำให้ไม่สามารถเริ่มงานรับข้อมูลและแสดงผลได้ การจัดให้เกิดความยุติธรรมและเพิ่มประโยชน์ใช้สอยของระบบนี้ มักประสบกับความต้องการที่ขัดแย้งกันของงานต่างๆ ทำให้การจัดสรรหน่วยประมวลผลกลางเป็นเรื่องลำบาก ก่อให้เกิดความยุ่งยากต่อระบบ ปฏิบัติการมาก
การจัดการหน่วยความจำหลัก (Memory management) การจัดการหน่วยความจำหลักสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการจัดการหน่วยประมวลผลกลาง เหตุเพราะโปรแกรมต้องอยู่ในหน่วยความจำหลักก่อน แล้วจึงจะสามารถเข้าใช้หน่วยประมวลผลกลางได้ แต่ก็ ไม่ควรให้โปรแกรมยึดครองหน่วยความจำหลัก หากไม่มีโอกาสอันดีที่จะได้เข้าใช้หน่วยประมวลผลกลาง
การจัดการอุปกรณ์ (Device management) อุปกรณ์ (device) คือ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ที่ไม่ใช่หน่วยประมวลผลกลางหรือหน่วยความจำหลัก เช่น เครื่องพิมพ์ หรือจานแม่เหล็ก อุปกรณ์บางอย่างสามารถใช้ร่วมกันได้ระหว่างโปรแกรมหลายโปรแกรมในขณะเดียวกัน เช่น จานแม่เหล็ก แต่อุปกรณ์บางอย่างเช่น เครื่องพิมพ์ แม้จะใช้ร่วมกันได้ แต่ต้อง ผลัดกันใช้ หมายถึงว่าต้องพิมพ์ผลของงานหนึ่งให้เสร็จสิ้นลงเสียก่อน จึงสามารถเริ่มพิมพ์ผลของอีกงานหนึ่งได้
การจัดสรรอุปกรณ์มีผลต่อการใช้ประโยชน์ของระบบได้ด้วย ตัวอย่างเช่น งาน ก. และ งาน ข. ต้องการใช้ตู้เทปแม่เหล็กสองและสามตู้ตามลำดับ หากในระบบมีเทปอยู่สามตู้ แต่ว่างเพียงสองตู้ในขณะนั้น ก็น่าจะให้งาน ก.ได้ใช้ตู้เทปทั้งสองที่ว่างอยู่ แต่หากงาน ข. ในขณะนั้นใช้องค์ประกอบอื่นของระบบอยู่มากแล้ว เช่น กินเนื้อที่หน่วยความจำหลักถึงสองในสามของระบบ ก็น่าจะให้งาน ก.รอก่อนให้ตู้เทปว่างลงอีกตู้ แล้วให้งาน ข. เข้าใช้ทั้งสามตู้ เพื่อใช้งาน ข. สำเร็จลุล่วงไปโดยเร็ว จะได้ปลดปล่อยหน่วยความจำหลักที่ยึดครองไว้
ศาสตร์ในการจัดสรรอุปกรณ์ในปัจจุบัน ยังคงเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นส่วนมาก โดยอาศัยความชำนาญและประสบการณ์ของพนักงานควบคุมเครื่องเป็นสำคัญ เนื่องจากความต้องการและองค์ประกอบต่างๆ ในระบบใหญ่ๆ ซับซ้อนเกินกว่าจะนิยามออกมาเป็นหลักเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ได้
การจัดสรรข้อมูล (Data management ข้อมูล (data หรือ information) อาจแบ่งได้เป็นสองประเภทคือ โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ร่วมกัน (ไม่นับระบบปฏิบัติการ) และส่วนที่เป็นแฟ้มข้อมูล (data file) ของผู้ใช้
สำหรับส่วนที่เป็นซอฟร์แวร์หรือโปรแกรมสำเร็จรูป (package หรือ library program) ซึ่งมีผนวกอยู่ในระบบปฏิบัติการเพื่อเอื้ออำนวยผู้ใช้ โดยปกติจัดอยู่ในรูป reentrant code คือมีส่วนของโปรแกรมเพียงสำเนาเดียว แต่สามารถให้ผู้ใช้เรียกใช้ได้พร้อมๆ กันหลายคน โดยแยกส่วนที่เป็นข้อมูลของแต่ละผู้ใช้ไป เช่น โปรแกรมแปลภาษา (translator หรือ compiler) โปรแกรมจัดคำ (editor) เป็นต้น ลักษณะนี้ลดความซ้ำซ้อน ได้มาก เพราะถ้าโปรแกรมร่วมนี้ไม่เป็น reentrant code แล้วผู้ใช้โปรแกรมนี้แต่ละคน จะต้องมีสำเนาของโปรแกรมร่วมนี้คนละชุดเกิดเป็นสำเนาของโปรแกรมร่วมหลายๆ ชุดอยู่ในหน่วยความจำทำให้สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ
สำหรับส่วนที่เป็นแฟ้มข้อมูลของผู้ใช้นั้น การจัดการแฟ้มข้อมูลจะต้องคำนึงถึงการเอื้ออำนวยให้สะดวกที่จะใช้ข้อมูล นอกจากนี้ยังจะต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพในการเก็บและเรียกใช้ตลอดจนการรักษาความปลอดภัยของแฟ้มข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคนด้วย
ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในปัจจุบัน
ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในปัจจุบัน
ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS)
เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป บางครั้งเราอาจะเห็นระบบปฏิบัติการเป็นเฟิร์มแวร์ก็ได้ ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้รันซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวพร้อมๆ กันระบบปฏิบัติการ ช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น

ระบบปฏิบัติกาNOSคืออะไร  หรือ OS (Operating System) ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการเข้าใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ของโปรแกรมที่รันบนคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น         ทรัพยากรของคอมพิวเตอร์มี

หลายชนิด   เช่น  หน่วยความจำ, ฮาร์ดดิสก์, จอภาพ, คีย์บอร์ด และเมาส์ เป็นต้น ถ้าไม่มีระบบปฏิบัติการ คอมพิวเตอร์คงจะรันโปรแกรมมากกว่าหนึ่งโปรแกรมไม่ได้ เพราะแต่ละโปรแกรมอาจแย่งใช้ทรัพยากรดังกล่าว  จนอาจทำให้ระบบล่มได้  ระบบเครือข่าย  เช่น  เครื่องพิมพ์  ฮาร์ดดิสก์  เป็นต้น  คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย จำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการทั้งสองประเภท  เพื่อที่จะทำหน้าที่ทั้งจัดการทรัพยากรภายในคอมพิวเตอร์และในระบบเครือข่าย  แต่โดยส่วนใหญ่ระบบ ปฏิบัติการทั้งสองประเภทจะอยู่ในตัวเดียวกัน   เมื่อติดตั้งระบบปฏิบัติการเสร็จแล้วก็เพียงติดตั้งส่วนที่เป็นเครือข่ายเท่านั้น

ระบบปฏิบัติการเครือข่ายอาจเป็นชุดซอฟต์แวร์ที่ต้องติดตั้งเพิ่มเติมหรืออาจจะเป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการทั่ว ๆ  ไป   ขึ้นอยู่กับบริษัทที่ผลิต  ตัวอย่างเช่น   เน็ตแวร์ (NetWare)  ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ของบริษัทโนเวลเป็นระบบปฏิบัติการที่ต้องติดตั้งเพิ่มเติมบนเครื่องที่มีระบบปฏิบัติการอยู่แล้วส่วนระบบปฏิบัติการวินโดวส์  NT/2000/2003, วินโดวส์  95/98/Me  และยูนิกซ์มีระบบปฏิบัติการเครือข่ายอยู่ในตัวอยู่แล้ว   โดยไม่ต้องติดตั้งเพิ่มเติม
1. ระบบปฏิบัติการ
 ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกย่อๆ ว่า โอเอส (Operating System : OS) เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่น ดอส วินโดวส์ ยูนิกซ์ ลีนุกซ์ และแมคอินทอช เป็นต้น
1) ดอส (Disk Operating System : DOS) เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้ว การใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร ดอสเป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในอดีต ปัจจุบันระบบปฏิบัติการดอสนั้นมีการใช้งานน้อยมาก

2) วินโดวส์ (Windows) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส โดยให้ผู้ใช้สามารถสั่งงานได้จากเมาส์มากขึ้นแทนการใช้แผงแป้นอักขระเพียงอย่างเดียวนอกจากนี้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ยังสามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้ โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างบนจอภาพ การใช้งานเน้นรูปแบบกราฟิก ผู้ใช้งานสามารถใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้เพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฏบนจอภาพ ทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย ระบบปฏิบัติการวินโดวส์จึงได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน

3) ยูนิกซ์ (Unix) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นเทคโนโลยีแบบเปิด (open system) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้องผูกติดกับระบบใดระบบหนึ่งหรือใช้อุปกรณ์ที่มียี่ห้อเดียวกัน ยูนิกซ์ยังถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองการใช้งานในลักษณะที่มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้ (multiusers) และสามารถทำงานได้หลายๆ งานในเวลาเดียวกันในลักษณะที่เรียกว่า ระบบหลายภารกิจ (multitasking) ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จึงนิยมใช้กับเครื่องที่เชื่อมโยงเป็น เครือข่ายเพื่อใช้งานร่วมกันหลายๆ เครื่องพร้อมกัน



AIX โดยบริษัท IBM
AUX โดยบริษัท Apple
IRIS โดย บริษัท Silicon Graphic
Linux เป็น Freeware
OSF/I โดย บริษัท DEC
SCO UNIX โดย บริษัท SCO
SunOS โดย บริษัท SUN Microsystem
ULTRIX โดย บริษัท DEC

4) ลีนุกซ์ (linux) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาจากระบบยูนิกซ์ เป็นระบบซึ่งมีการแจกจ่ายโปรแกรมต้นฉบับให้นักพัฒนาช่วยกันพัฒนาคุณสมบัติของระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์เป็นที่นิยมกันมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากมีโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในกลุ่มของกูส์นิว (GNU) และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทแจกฟรี (Free Ware) ผู้ใช้สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

5) แมคอินทอช (macintosh) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แมคอินทอช ส่วนมากนำไปใช้งานด้านกราฟิก ออกแบบและจัดแต่งเอกสาร นิยมใช้ในสำนักพิมพ์ต่างๆ  นอกจากระบบปฏิบัติการที่กล่าวมาแล้วยังมีระบบปฏิบัติการอีกมาก เช่นระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันเป็นระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์ นอกจากนี้ยังมีระบบปฏิบัติการที่ใช้งานเฉพาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่องานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในสถาบันการศึกษา
ระบบปฏิบัติการ Windows XP ::::
         WindowsXP เป็นระบบปฏิบัติการ ที่เริ่มวางตลาดในปี ค.ศ. 2001 โดยตั้งชื่อ ให้รับกับการเปลี่ยนแปลงล่าสุดว่า Microsoft Windows XP โดยคำว่า XP ย่อมาจาก experience แปลว่ามีประสบการณ์ โดยทางบริษัทผู้สร้าง กล่าวว่าการตั้งชื่อเช่นนี้ มีเหตุผลมาจากที่ต้องการสื่อให้เห็นถึงการ ได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ จากการใช้ Windows XP ทุก ๆ ประมาณ 2 ปี บริษัทไมโครซอฟต์ผู้ผลิตโปรแกรมวินโดวส์ จะวางตลาดวินโดวส์รุ่นใหม่ ๆ โดยได้ใส่เทคโนโลยีที่ทันสมัย และเปลี่ยนแปลง สิ่งที่เป็นข้อด้อยของวินโดวส์รุ่นเก่า เพราะฉะนั้น ผู้ที่ต้องการเทคโนโลยีใหม่ ๆ Windows XP มีจุดเด่นและความสามารถมากมาย ไม่ว่าจะเป็นระบบใช้งานที่ดูสวยงาม และง่ายกว่าวินโดวส์รุ่นเก่า ๆ มีระบบช่วยเหลือในการปรับแต่งมากมาย เช่นระบบติดตั้งฮาร์ดแวร์ ติดตั้งเครือข่าย และสร้างผู้ใช้ในเครือข่าย การสร้างแฟกซ์ด้วยคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมรุ่นใหม่ แถมมาให้หลายโปรแกรม เช่นโปรแกรมดูหนังฟังเพลง (Windows Media Player 8)และโปรแกรมท่องโลกอินเทอร์เน็ต (Internet Explorer 6) เหมาะสำหรับนักคอมพิวเตอร์มือใหม่ และผู้ใช้งานทั่วไปอย่างยิ่ง

             Windows XP มีให้เลือกใช้สองรุ่นคือ Windows XP Home Edition ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ใช้งานตามบ้าน ที่ไม่เชื่อมต่อกับเครือข่าย และอีกรุ่นคือ Windows Xp Professional Edition ซึ่งเหมาะกับผู้ใช้งานในองค์กร ตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ เนื่องจากสามารถเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายได้ดี คนที่ใช้วินโดวส์เวอร์ชั่น XP จะต้องใช้เครื่องที่มีทรัพยากรมาก เช่น ซีพียู เพนเทียม 300 MHz ขึ้นไป แรมไม่ต่ำกว่า 128 MB ฮาร์ดดิสก์เหลือกพื้นที่ว่างมากกว่า 1.5 GB เป็นต้น
            สรุปแล้วในปัจจุบันระบบปฏิบัติการของไมโครคอมพิวเตอร์มีสองค่ายใหญ่ด้วยกัน คือ Unix กับ Windows ค่ายแรกปรกกฏในรูปแบบของ Linux และ MacOS X จริงอยู่ว่ายังมีผู้ใช้ MacOS รุ่นเก่าอยู่มาก แต่ Apple ได้ประกาศเป็นทางการแล้วว่าได้เลิกสนับสนุน MacOS 9 แล้ว ในอนาคตผู้ที่ใช้ MacOS 9 ก็ต้องเปลี่ยนไปใช้ MacOS X อนึ่งที่แบ่งเป็นสองค่ายข้างต้นเป็นการแบ่งตามประเภท แต่ถ้าแบ่งตามยี่ห้อจะมีสาม คือ Linux, MacOS และ Windows
ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows Vista
            เป็นโปรแกรมระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ล่าสุดจากไมโครซอฟท์ ที่พัฒนาต่อมาจาก Microsoft Windows XP และ Microsoft Windows Server 2003 ที่ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาให้มีความล้ำสมัย ทั้งรูปร่างหน้าตา (Interface) และฟังก์ชั่นการใช้งานต่างๆ นอกจากที่ Vista จะมีความพิเศษในเรื่องฟังก์ชั่นต่างๆ แล้ว ไมโครซอฟท์ได้ปรับปรุงเรื่องความปลอดภัยและเน็ตเวิร์คให้สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ปัจจุบันได้วางจำหน่ายให้กับองค์กรธุรกิจวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 และวางจำหน่ายให้กับผู้ใช้ทั่วไปวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2550 ไมโครซอฟท์ประกาศใช้ชื่อ Microsoft Windows Vista อย่างเป็นทางการแก่สื่อมวลชนในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 แทนที่ชื่อรหัส ลองฮอร์น (Longhorn) โดยคำว่า วิสตา ในภาษาอังกฤษ หมายถึงมุมมอง หรือทิวทัศน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทที่7 การประกอบคอมพิวเตอร์

การจัดสเปก CPU   จะเป็น Intel Core i 7  3.20 GHz ในราคา  11,590   บาท ข้อดี   มีความคุ้มค่าในด้...